วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โครงงาน การส่งเสริมความรู้และเทคนิคต่างๆทางด้านศิลปะ

โครงงานเรื่อง

การส่งเสริมความรู้และเทคนิคต่างๆทางด้านศิลปะ

ผู้จัดทำ

1.เด็กชาย ชัยวัฒน์ พลอยงาม ม.3/1 เลขที่ 2

2.เด็กชาย ธนวัฒน์ คำอินทร์  ม.3/1 เลขที่ 3

3.เด็กชาย พีรพร เนาวรัตนพันธ์  ม.3/1 เลขที่ 8

4.เด็กชาย สิรภพ สัมมาคุณ ม.3/1 เลขที่ 11

อาจารย์ที่ปรึกษา

อาจารย์ เศรษฐวัฒน์    ปิ่นเปี้ย

โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี

อำเภอ ท่าม่วง จังหวัด กาญจนบุรี
รายงานนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงาน เทคโนโลยีสารสนเทศ
       

หัวข้อโครงงาน           การส่งเสริมความรู้และเทคนิคต่างๆทางด้านศิลปะ
คณะผู้จัดทำ                 ชัยวัฒน์   พลอยงาม
                                    ธนวัฒน์   คำอินทร์
                                    พีรพร       เนาวรัตนพันธ์
                                    สิรภพ      สัมมาคุณ
ปี พ..                          2555
ระดับ                           ช่วงชั้นที่ 3(มัธยมศึกษาปีที่ 3/1)
คุณครูที่ปรึกษา            คุณครูเศรษฐวัฒน์  ปิ่นเปี้ย
โรงเรียน                       เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี
บทคัดย่อ
           โครงงานเรื่องการส่งเสริมความรู้และเทคนิคต่างๆทางด้านศิลปะนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องความรู้ความสามารถทางด้านศิลปะ จากการที่คณะผู้จัดทำได้รับความรู้จากคุณครูผู้สอนและหนังสือเรียน ทำให้มีความรู้ความเข้าใจความหมายของคำว่าศิลปะพอสมควรแต่ก็ไม่เพียงพอสำหรับคณะผู้จัดทำ คณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงงานนี้ โดยศึกษาหาความรู้จากทางอินเตอร์เน็ต และถามจากผู้ที่มีความรู้และได้จัดทำลงในเว็บไซด์ เพื่อที่จะให้ผู้ที่สนใจ ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากเว็บไซด์ที่คณะผู้จัดทำได้สร้างขึ้น








กิตติกรรมประกาศ
      โครงงานเล่มนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาจากอาจารย์ เศรษฐวัฒน์  ปิ่นเปี้ย อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานที่ได้ให้คำเสนอแนะ แนวคิด ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ มาโดยตลอด จนโครงงานเล่มนี้เสร็จสมบูรณ์ คณะผู้ศึกษาจึงขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
      ขอขอบพระคุณพ่อ คุณแม่ และผู้ปกครอง ที่ให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ รวมทั้งเป็นกำลังใจที่ดีเสมอมา
      สุดท้ายนี้ขอขอบใจเพื่อนๆทุกคน ที่ช่วยให้คำแนะนำดีๆ และให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ จนทำให้โครงงานเล่มนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ดี



                                                                                                              ข้าพเจ้าและขณะผู้จัดทำ










สารบัญ

บทคัดย่อ                                                                                                                               ก
กิตติกรรมประกาศ                                                                                                              
บทที่ ๑   บทนำ                                                                                                                     
               ที่มาและความสำคัญของโครงงาน                                                                      
               วัตถุประสงค์                                                                                                         
               สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า                                                                           
               ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า และ นิยามคำศัพท์
บทที่ ๒   เอกสาร                                                                                                                - o
บทที่ ๓   อุปกรณ์และวิธีการศึกษา                                                                                       ๓๑
               อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา
               วิธีการศึกษา
บทที่ ๔    ผลการศึกษาและอภิปรายผลการศึกษา                                                             ๓๒
บทที่ ๕   สรุปผลการศึกษา                                                                                           ๓๓ ๓๔
               สรุปผลการศึกษา
               ประโยชน์ที่ได้รับ
               ข้อเสนอแนะ และอุปสรรคในการทำโครงงาน
บรรณานุกรม                                                                                                                    ๓๕
บทที่ ๑   บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
             ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่เห็นว่าวิชาศิลปะเป็นเรื่องไร้สาระจึงให้บุตรหลานของตนเองไปเรียนที่สถานบันกวดวิชาที่สอนแต่วิชาพื้นฐานไม่ได้สอนทักษะในทางปฏิบัติเพราะว่าการปฏิบัติเป็นกานฝึกสมาธิให้กับเด็กซึ่งจะทำให้เด็กเป็นเด็กที่มีสมาธิด้วยเหตุนี้เราจึงนำความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิชาศิลปะมาเพิ่มเติมให้เป็นแนวทางในการหาความรู้
            โครงงานศิลปะเรื่อง การส่งเสริมความรู้และเทคนิคต่างๆทางด้านศิลปะ จัดทำขึ้นเนื่องจากคระผู้ร่วมจัดทำผลงานผลงานเห็นว่าประเทศของเราเป็นประเทศที่มีสถานศึกษาอยู่มากมาย มีทั้งโรงเรียนของเอกชนและโรงเรียนของรัฐบาลซึ่งในสิ่งที่แต่ละโรงเรียนที่สอนในวิชาศิลปะนั้นเป็นแค่การสอนเกี่ยวกับศิลปะขั้นพื้นฐานในแต่ระดับชั้นต่างๆ คณะผู้ร่วมจัดทำผลงานจึงหาประวัติ วิธีและเทคนิคในการวาดรูปต่างๆเพื่อให้ผู้ที่ได้อ่านมีทางเลือกในการนำเทคนิคต่างๆมาใช้ได้อย่างหลากหลาย
      โครงงานนี้เป็นโครงงานที่จัดทำขึ้นได้เองภายในห้องเรียน  เป็นการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มาไว้ให้เป็นทางเลือกในการศึกษาหาความรู้  ทำให้คณะร่วมผู้จัดทำจักทำผลงาน ได้ฝึกสมาธิ การทำงานเป็นทีม และสามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ได้เป็นอย่างดี

 1.เพื่อให้ผู้อื่นได้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคศิลปะไปใช้ต่อในการทำงานต่างๆได้
2.เพื่อให้ผู้อื่นเลือกใช้เทคนิคต่างๆได้อย่างดีขึ้น
ศิลปะในห้องเรียนเป็นการสอนเพียงเทคนิคขั้นพื้นฐานแต่เทคนิคศิลปะอาจไม่ได้อยู่ในห้องเรียนอย่างเดียวก็ได้
-สถานที่  โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี อำเภอ ท่าม่วง  จังหวัด กาญจนบุรี
-ระยะเวลา พฤศจิกายน  -  ธันวาคม ๒๕๕๕
-ข้อมูลทั้งหมดได้จากคณะผู้ร่วมจัดทำผลงานทุกคน
นิยามศัพท์
1.              วิจิตรศิลป์ (Fine Arts) คือศิลปะที่งดงาม หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจและอารมณ์
2.              2. ประยุกต์ศิลป์ (AppliedArts) คือศิลปะที่สร้างขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายแสดงความงามร่วมกับประโยชน์ทางการใช้สอย
  บทที่ ๒   เอกสาร
ความหมายและคำนิยาม
             คำว่า "ศิลปะ" เป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางมาก เป็นศาสตร์ที่รวมผลงานที่มีคุณค่าอย่างมหาศาลของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นทัศนศิลป์ที่ประกอบไปด้วย จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์และศิลปะการแสดง ดนตรี วรรณศิลป์หรือกระทั่ง ประยุกต์ศิลป์ซึ่งเป็นผลงานที่มนุษย์พบเห็นในชีวิตประจำวันล้วน ให้คุณค่าให้ประโยชน์แก่มวลมนุษย์ งานศิลปะแม้จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในทางผลผลิตเพื่ออาหารทางกายแต่คุณสมบัติที่สำคัญยิ่งคือความงามที่ทำให้เกิดความรู้สึก ซาบซึ้งในคุณค่าของความงามหรือความพึงใจที่เรียกว่าคุณค่าทางสุนทรีย์ซึ่งคุณค่าทางสุนทรีย์นี้เองเป็นปัจจัยที่ทำให้มนุษย์เลือกบริโภคผลงานศิลปะที่มีคุณค่า และ นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวันได้
ความหมายของศิลปะ
ศิลปะตรงกับภาษาอังกฤษว่า "ART"การทำความเข้าใจในความหมายของคำว่าศิลปะเป็นเรื่องที่ยากเพราะศิลปะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างและ การ แสดงอารมณ์ความรู้สึกภายใจของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับความงามความพอใจของแต่ละคน บางคนอาจมีความชื่นชมในความงามแตกต่างกันและยังคงเป็นเรื่องที่เข้าใจ ยากสำหรับผู้ที่ไม่ได้ศึกษาศิลปะ
ความหมายของศิลปะตามแนวคิดของศิลปิน
1. ศิลปะคือการเลียนแบบธรรมชาติ (ArtasRepresentation)
 ผลงานศิลปะอาจจะมีทั้งประเภทที่ลอกเลียนแบบ ธรรมชาติ หรือไม่ลอกเลียนแบบ ธรรมชาติก็ได้กล่าวคือถ้าเป็นภาพเขียนสิ่งของธรรมชาติหรือภาพมนุษย์ก็จัดได้ว่าเป็นงานประเภทที่ลอกเลียนแบบธรรมชาติแต่ หากว่าเป็นการ เขียนภาพแสดงความพิศดาร ของการใช้สีสันเพื่อให้เกิดความรู้สึกสนใจหรืออารมณ์ตามต้องการก็เป็นผลงานที่ไม่ลอกเลียนแบบธรรมชาติเช่นเดียวกับดนตรีผลงาน ดนตรีส่วนใหญ่เป็นประเภทที่ไม่ลอกเลียนแบบธรรมชาติ เพราะดนตรีอาจใช้ถ้อยคำหรือไม่ใช้ถ้อยคำใด ๆเลยก็ได้เพราะดนตรีเป็นเรื่องของความสนใจความไพเราะของ เสียงเช่นดนตรีประเภทProgramMusic (ดนตรีที่สามารถสื่อออกมาเป็นเรื่องราว) ซึ่งอาจนำมาใช้การประกอบการแสดงเราถือว่าเป็นผลงานที่ไม่ลอกเลียนแบบธรรมชาติ ส่วนVocalMusic (ดนตรีประเภทขับร้อง) นั้นเราถือว่าเป็นผลงานที่ลอกเลียนแบบธรรมชาติ เพราะมีการใช้ถ้อยคำเพื่อบรรยายเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ทำให้เกิด จินตภาพเป็นไปตามคำร้อง หรือถ้าหากว่าเป็นการแสดงเลียนแบบการเคลื่อนไหวธรรมชาติ เช่นการเลียนแบบท่าทางต่าง ๆของสัตว์ก็จัดว่าเป็นผลงานที่ลอกเลียนแบบ ธรรมชาติ เช่นเดียวกัน
2. ศิลปะคือรูปทรง (ArtasPureForm) งานศิลปะไม่สามารถจะสร้างขึ้นมาได้ถ้าปราศจากรูปทรง Form การที่เราชื่นชมเพราะว่าในศิลปวัตถุมีรูปทรงที่สวยงาม ทั้งนี้เพราะลักษณะที่สำคัญคือมีความกลมกลืนขององค์ประกอบที่ทำให้เป็นเอกภาพ ตัวอย่างเช่นความสัมพันธ์ของดนตรีตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ และรูปทรงของเสียงดนตรี สามารถถ่ายทอดมายังจิตใจได้
3. ศิลปะคือการแสดงออกซึ่งอารมณ์ (ArtasExpressionism) ความคิดเรื่องศิลปะ คือการแสดงออกซึ่งอารมณ์นี้ใช้เพียงแค่ ถือว่าวัตถุประสงค์ของ ศิลปะไม่ ใช้เสนอความงามในรูปทรงของสีสันหรือเสียง และไม่ใช้เพืยงแค่การลอกเลียนแบบจากธรรมชาติ อารมณ์ทางศิลปะนั้นแตกต่างจากการแสดงอารมณ์แบบอื่น ๆ ดัง ต่อไปนี้
3.1 การแสดงอารมณ์ทางศิลปะ ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกบเจตนาหรือความตั้งใจ
3.2 การแสดงอารมณ์ทางศิลปะ ต้องมีจุดประสงค์หรือคุณค่าอยู่ในตัวเองโดยไม่มีเจตนาอื่นซ้อนเร้น เคลือบแฝง
3.3 การแสดงอารมณ์ทางศิลปะ แสดงให้รู้ว่าบุคคลมีปฏิกิริยาหรือมีความรุ้สึกในทางสุนทรียะ คือความชอบไม่ชอบ
3.4 สื่ออารมณ์ในศิลปะ ประเภทการแสดงอารมณ์มีความหมายถึงคุณค่าอยู่ในตัวเป็นลักษณะพิเศษไม่เหมือนกับสื่อประเภทอื่น ๆ เช่นการพูดไม่ว่าเราจะ พูดถึงเรื่องอะไร การตีค่าความหมายก็จะหมายถึงสิ่งที่เราพูดแต่ในทางดนตรีหรือนาฏศิลป์นั้นคำพูดแต่ละคำมีความหมายในตัวเองโดยเป็นคำที่มีเสียงไพเราะการรับรู้ตาม ธรรมชาติของมนุษย์ สีสันและรูปทรงจะทำให้สามารถบอกได้ว่าเป็นอะไรและใช้ประโยชน์อะไร
4. ศิลปะ คือการแสดงออกทางความรู้สึก ศิลปินอาจจะแก้ไขแต่งเติมดัดแปลงจากธรรมชาติ เช่น สื่อความหมายลงในภาพที่วานทิวทัศน์  ศิลปะจึงเป็น การ ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกที่ได้รับจากธรรมชาติโดยมีมนุษย์เป็นตัวถ่ายทอดความประทับใจ แต่การรับรู้ของผู้ชมอาจจะต้องการชื่นชมความงามในรูปแบบที่แตกต่างกัน ได้แก่
4.1 ศิลปะแบบเหมือนจริง (Realistic) เป็นศิลปะที่ไม่ซับซ้อนมีเนื้อหาสาระที่ปรากฏเด่นชัดแต่ผู้สร้างและผู้ชมต้องมีความรู้เรื่องนั้นด้วย เช่นภาพคน ภาพสัตว์
4.2 ศิลปะแบบกึ่งนามธรรม(Semiabstract) เป็นการถ่ายทอดที่ผิดเบนไปจากรูปธรรมหรือ แบบเหมือนจริงด้วยการตัดทอนรูปทรงจากของจริงให้เรียบง่าย แต่ยังมีเค้าโครงเดิมอยู่สามารถดูรู้ว่าเป็นภาพอะไร
4.3 ศิลปะแบบนามธรรม (abstract) เป็นศิลปะประเภทที่ไม่มีความจริงเหลืออยู่ เพราะถูกตัดทอนให้เหลือแค่เส้นสี น้ำหนัก ที่ก่อให้เกิดความงามตามอารมณ์ความรู้สึกเป็นสิ่งที่เหนือความเป็นจริงต้องใช้จินตนาการในการรับรู้รับชม

ประเภทของงานศิลปะ
เราอาจแบ่งประเภทของงานศิลปะตามหลักการณ์ทางสุนทรียศาสตร์ได้เป็น 2 ประเภทคือ วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์
1. วิจิตรศิลป์ (Fine Arts) คือศิลปะที่งดงาม หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจและอารมณ์ที่สำคัญ ประกอบด้วย 6 สาขา คือ
1.1 จิตรกรรม
1.2 ประติมากรม
1.3 สถาปัตยกรรม
1.4 วรรณกรรม
1.5 ดุริยางศิลป์ หรือ ดนตรี
1.6 นาฏศิลป์ การละคร การเต้นรำ ภาพยนตร์
2. ประยุกต์ศิลป์ (AppliedArts) คือศิลปะที่สร้างขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายแสดงความงามร่วมกับประโยชน์ทางการใช้สอยเช่น ออกแบบนิเทศศิลป์ อุตสาหกรรมศิลป์ มัณฑนศิลป์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ออกแบบเครื่องประดับ เป็นต้น
สรุปศิลปะ เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวมนุษย์เป็นสิ่งที่ให้คุณค่ามหาศาลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ศิลปะที่ให้คุณค่าทางร่างกายเป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต ประจำวันของมุนษย์เป็นสิ่งที่มนุษย์พบเห็นเข้าใจและเห็นคุณค่าคุณประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม แต่ศิลปะที่ให้คุณค่าทางจิตใจเป็นงานศิลปะที่มีคุณค่าในการพัฒนา มนุษย์ให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข


ความหมายและคำนิยามของศิลปะ
ความหมายของศิลปะ
ศิลปะ เป็นคำที่มีความหมายทั้งกว้างและจำเพาะเจาะจง ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ ทัศนะของนัก ปราชญ์แต่ละคน รวมทั้งความเชื่อแนวคิด ในแต่ละยุค แต่ละสมัย มีความแตกต่างกัน หรือแล้วแต่ว่า จะนำศิลปะไปใช้ ในแวดวงที่กว้างขวาง หรือจำกัดอย่างไร แต่จากทัศนะของนักปราชญ์ ทั้งหลายจะ เห็นว่าศิลปะมีคุณลักษณะ ที่เป็นตัวร่วม สำคัญที่สุด
ประการหนึ่ง คือ การแสดงออก ไม่ว่าจะเป็น อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ประสบการณ์ ความงามการเห็นแจ้ง สัญลักษณ์ ความเป็นเรื่องราวหรือ เหตุการณ์ ก็ล้วนแต่เป็น การแสดงออกโดยมนุษย์เป็นผู้เลือกสรร หรือสร้างสรรค์ ขึ้นทั้งสิ้น ดังนั้น จึงพอจะให้ความหมายของศิลปะในแนวกว้าง ๆ ได้ดังนี้
ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึก ปัญญา ความคิดและหรือ ความงามทั้งนี้จะกล่าว โดยรวม ก็คือ ศิลปะ จะประกอบไปด้วย ส่วนประกอบ 3 ประการ คือ
1. มีความงาม
2. มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน
3. มีความคิดสร้างสรรค์
เหตุที่จำกัดวงอยู่เฉพาะผลิตผลของมนุษย์ อาจเป็นเพราะว่า ในบรรดา สัตว์โลกด้วยกัน มนุษย์เป็นสัตว์ประเภทเดียวที่สามารถ สร้างสื่อ ในการ ทำความเข้าใจร่วมกัน ดีที่สุด และการดำเนิน ชีวิตก็มีการพัฒนา ไปเป็นระบบ สิ่งเหล่านี้ นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่มนุษย์ ยกย่องความเป็นสัตว์โลกของตน ว่าเป็นประเภทที่เหนือกว่า สัตว์โลกประเภทใด
ดังนั้น รูปร่างลักษณะหรือ ผลงาน สร้างสรรค์ จากสิ่งต่าง ๆ ที่มิใช่ผลงานของมนุษย์ รวมทั้งปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่มี ความ สลับซับซ้อน มีความสวยงาม มีรูปทรงแปลกตา แม้ มนุษย์ จะมีความชื่นชม แต่ก็ไม่ ยอมรับว่าเป็นผลงานศิลปะ แต่หากมนุษย์ ใช้ความบันดาลใจ จากสิ่งเหล่านั้น มาสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ ถือว่าเป็นศิลปะ แต่จะเป็น ศิลปะบริสุทธิ์ (Fine Art) หรือศิลปประยุกต์ (Applied Art) หรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย ในการสร้าง

คำนิยามของศิลปะ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 ให้นิยามของศิลปะว่า ศิลปะ คือ ฝีมือ ฝีมือทางการช่าง การแสดงซึ่งอารมณ์ สะเทือนใจ ให้ประจักษ์เห็น
พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2530 นิยามความหมายของศิลปะว่า ศิลปะ คือ ผลแห่งพลังความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ที่แสดงออก ในรูปลักษณ์ ต่างๆให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพความประทับใจ หรือ ความสะเทือนอารมณ์ ตามอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์ รสนิยม และทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี หรือความเชื่อในลัทธิศาสนา และกล่าวว่า ศิลปะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ วิจิตรศิลป์ (Fine Art) กับประยุกต์ศิลป์ (Applied Art)
อริสโตเติล (Aristotle) ปราชญ์ในยุคกรีกโบราณ นิยามความหมาย ของศิลปะว่า ศิลปะคือการเลียนแบบธรรมชาติ
ตอลสตอย (Leo Tolstoi) นักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงชาวรัสเซีย นิยาม ความหมาย ของศิลปะ ว่า ศิลปะคือการถ่ายทอดความรู้สึกของมนุษย์ออกมา
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีรศรี (C. Feroci) ศิลปินชาวอิตาเลียนผู้มาวางรากฐาน การศึกษาศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย ได้นิยามความหมายของศิลปะว่า ศิลปะคืองาน อันเป็น ความพากเพียรของมนุษย์ ซึ่งจะต้องใช้ความพยายาม ด้วยมือและความคิด และยังมีคำนิยามของศิลปะที่น่าสนใจและถูกใช้อ้างอิง อย่างแพร่หลาย ในปัจจุบัน ที่ปรากฎตามหนังสือ และเอกสารต่าง ๆ ดังจะยกตัวอย่าง พอเป็นสังเขป ดังนี้
ศิลปะ คือ การเลียนแบบธรรมชาติ (Art is the imitation of nature) การตีความจากคำนิยามนี้  ธรรมชาติ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิด แรงบันดาลใจ ให้แก่ ศิลปินในการสร้างงาน คำนิยามนี้ว่าศิลปะคือ การเลียนแบบธรรมชาติ เป็น คำนิยาม ที่ถือกันว่าเก่าแก่ที่สุดซึ่ง อริสโตเติล (Aristotle 384-322 B.C.) นักปราชญ์ชาวกรีก เป็นผู้ตั้งขึ้น เป็นการชี้ให้เห็นว่า ธรรมชาติอาจเปรียบได้ดังแม่บทสำคัญ ที่มีต่อศิลปะ ด้วยศิลปะ เป็นสิ่งสร้างโดยมนุษย์ และมนุษย์ก็ ถือกำเนิดมาท่ามกลาง ธรรมชาติ อีกทั้งบนเส้นทาง การดำเนินชีวิตมนุษย์ก็ผูกพันธ์อยู่กับธรรมชาติ จนไม่สามารถ แยกออกจากกันไดในทางศิลปะ มิใช่เป็นการบันทึก เลียนแบบเหมือนกระจกเงาหรือ ภาพถ่าย ซึ่งบันทึกสะท้อนทุกส่วน ที่อยู่ตรงหน้า แต่อาจจะเพิ่มเติม ตัดทอน หรืออาจจะใส่อารมณ์ ความรู้สึกเข้าไปด้วย ธรรมชาติเป็นแหล่งบันดาลใจที่สำคัญในการสร้างงานศิลปะของมนุษย์
ธรรมชาติ จึงอาจคล้ายแหล่งวิทยาการที่ยิ่งใหญ่ ของมวลมนุษย์ ในการศึกษา ค้นคว้าลอก เลียนและที่สำคัญคือ มนุษย์ต้องเรียนรู้ธรรมชาติ เพื่อการดำรงชีวิตอย่าง มีประสิทธิภาพ และจากการ สังเกต มนุษย์อาจได้พบกับความพึงพอใจในลักษณะ ที่แฝงเร้นอยู่กับธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นสีสัน รูปร่าง บรรยากาศ ความแปลก ความงาม ฯลฯ และบางครั้งสังเกตเห็น ความเปลี่ยนแปลง ของธรรมชาติ ก่อให้เกิดความประทับใจ สะเทือนใจ เสียดายและความรู้สึกอื่น ๆ จนถึงความต้องการเป็น เจ้าของ จากความรู้สึกที่เกิดขึ้นนี้ เป็นแรงกระตุ้น ให้มนุษย์พยายาม ที่จะรักษาสภาพการณ์ นั้นไว้ให้คงอยู่ อาจด้วยความทรงจำ และถ่ายทอดความทรงจำนั้นด้วย สื่อและรูปแบบ ต่าง ๆ
ในคำนิยามนี้ ศิลปะก็เปรียบได้ดัง เครื่องมือ ของศิลปิน ที่ใช้บันทึก เลียนแบบธรรมชาติไว้ แต่ในการเลียนแบบธรรมชาติ ในทางศิลปะ มิใช่การเลียนแบบเหมือนกระจกเงา หรือภาพถ่าย แต่อาจเพิ่มเติม ตัดทอน หรืออาจสอดแทรกอารมณ์ ของศิลปิน เข้าไปด้วย
ศิลปะ คือ การถ่ายทอดความรู้สึกหรือแสดง ความรู้สึก เป็นรูปทรง (Art is the transformation of Feeling into form) รูปทรง ในที่นี้ คือว่าเป็นรูปธรรมที่สามารถสัมผัสได้ และตีความหมายได้ ซึ่ง หมายถึง ผลงานศิลปะที่เริ่มมาจาก ความคิดที่เป็นลักษณะ นามธรรมภายในตัวศิลปินเอง ที่คนทั่วไปไม่สามารถสัมผัสได้โดยตรง นอกจากเจ้าของ ความรู้สึกนั้น จะถ่ายทอดหรือสะท้อนออกมาเป็นรูปทรง ที่สัมผัส ได้ ตามความหมายของนิยามนี้ ศิลปะอาจเปรียบ เสมือน สื่อหรือเครื่องมือ ที่ผู้ถ่ายทอดใช้เป็น ตัวกลาง เพื่อโยง ความรู้สึกของตน แสดงให้ผู้อื่นได้รับรู้ หรือเข้าใจ ในสิ่งที่ ต้องการแสดง หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นการแปลลักษณะ นามธรรมมาเป็น รูปธรรมนั่นเอง แต่รูปธรรมที่แสดงออกนี้ อาจจะมี ลักษณะเป็นรูปทรงที่ระบุเป็นตัวตน ได้ว่าเป็นรูปอะไร ที่เรียกว่า ศิลปะกึ่งนามธรรมหรือระบุเป็นตัวตน ไม่ได้ที่เรียกว่า ศิลปะนามธรรม
ส่วนความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้น ก็เนื่องมาจากสิ่งเร้า 2 ประการ คือ สิ่งเร้าภายนอก และสิ่งเร้าภายใน จากสิ่งเร้าทางใดทางหนึ่งนี้ มีอิทธิพลต่อการถ่ายทอด รูปแบบเป็นอันมาก คือ ถ้าเป็นความ รู้สึกที่เกิดขึ้น จากสิ่งเร้าภายนอก การถ่ายทอด มักจะเป็นรูปแบบ ในลักษณะเรื่องราว รายละเอียดของ สิ่งเร้านั้น เช่น การดู การแสดงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วเกิดความรู้สึก สนุกสนาน กับบทบาทของตัวแสดงที่เห็นได้จากภายนอก ซึ่งถือเป็น สิ่งเร้าภายนอก
เมื่อถ่ายทอดโดยการเล่า ให้ผู้อื่นฟัง มักจะเล่าเรื่องราว รายละเอียด ของผู้แสดง และบทบาท การแสดงนั้น แต่ถ้าเป็น ความรู้สึกที่เกิดขึ้น จากสิ่งเร้าภายใน ของการแสดงนั้น ก็คือการเข้าใจ ซาบซึ้งในเนื้อหาสื่อเป็น ความรู้สึกออกมา เช่นโศกเศร้า ดีใจ สนุกสนาน เป็นต้น

ศิลปะ คือ สื่อภาษาชนิดหนึ่ง (Art is The Language)
สื่อ เป็นตัวกลางที่สามารถชักนำเชื่อมโยงให้ถึงกัน หรือสามารถทำการ ติดต่อกันได้
ภาษา หมายถึง เสียงหรือสื่อที่สามารถเข้าใจซึ่งกันและกันได้ สรุป รวม แล้ว ทั้งสื่อและภาษาเป็นพฤติกรรม ที่แสดงออก เพื่อชักนำ เพื่อติดต่อให้ถึงกัน และเมื่อ ตีความหมายของคำนิยามที่ว่า ศิลปะ เป็นสิ่งหรือภาษาได้อย่างไร โดยนำศิลปะไปเปรียบเทียบกับสื่อที่เป็นภาษาพูด และภาษาเขียน ใน ภาษาพูด เป็นลักษณะถ่ายทอดโดยใช้สื่อประเภทเสียง เปล่งออกมาเป็นคำ หรือประโยค เพื่อสื่อความหมายในสิ่งที่ผู้พูดต้อง การถ่ายทอดให้ผู้ฟังได้รับรู้ ส่วนภาษาเขียนเป็นลักษณะการ สื่อความหมาย โดยอาศัยสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ ฯลฯ เพื่อโยง ให้เกิดความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่าน
การสื่อความหมายโดยใช้ภาษาเขียน และ ภาษาภาพ เป็นลักษณะ การถ่ายทอดสิ่งที่ต้องการ ให้ผู้อื่นรับรู้ ให้ปรากฎในรูป แบบศิลปะอันอาจเป็นลักษณะ เส้น รูปร่าง รูปทรง ทิศทาง แสงเงา สี และอื่น ๆ ทั้งในลักษณะที่เป็น รูปธรรมและนามธรรม ตัวอย่างเช่นในภาษาพูดสื่อความหมาย โดยกล่าวคำว่า ผีเสื้อ ผู้ฟัง ย่อมสามารถ รู้ความหมาย ด้วยการระลึกถึงลักษณะรูปร่าง สีสัน รายละเอียดของผีเสื้อ จากประสบการณ์เดิม ส่วนในภาษาเขียนก็ เช่นเดียวกันเขียนคำว่า ผีเสื้อ ผู้อ่านก็ต้องระลึกถึง ประสบการณ์เดิม มาประกอบในการ แปลความ เหมือนกัน และในทางศิลปะ อาจถ่ายทอด โดยการ วาดภาพผีเสื้อขึ้น ผู้ดูสามารถรับรู้และตีความ ได้ทันที โดยมิต้องใช้ความคิดจินตนาการในรูปแบบมาประกอบการตีความ ย่อมแสดง ได้ว่า ศิลปะสามารถจัดเข้าลักษณะสื่อ หรือภาษา ได้เช่นเดียวกัน และสื่อภาษา ที่ชัดเจน กว่าสื่อตัวอักษร หรือคำพูด ดังคำกล่าว ของนักปรัชญาจีนที่เคยกล่าวว่า  รูปภาพ 1 รูปสามารถใช้แทนคำพูด ได้นับพันคำ
การที่จะเข้าใจการสื่อความหมาย ไม่ว่าจะสื่อภาษา ชนิดใดก็ตาม ทั้งภาษาพูด ภาษาเขียน หรือภาษาภาพ ผู้ที่สามารถตีความหมาย หรือทำความเข้าใจได้ย่อม ต้องอาศัย การศึกษาเรียนรู้ในหลักการ ของภาษานั้น รวมทั้งการ ฝึกฝน หาประสบการณ์เกี่ยวกับสื่อภาษา ชนิดนั้น ๆ มาเป็นพื้นฐาน ไว้โยงตีความหมาย ยิ่งมีพื้นฐานประสบการณ์มากเท่าไร ก็ยิ่งสามารถเข้าใจในสื่อภาษานั้นเป็น อย่างดี

ศิลปะ คือ การแสดงบุคลิคลักษณะของศิลปิน (Art is the The Expression of Great Personallity)
บุคลิกภาพเป็นลักษณะคงที่ของบุคคล หรือแนวโน้มที่แสดงให้เห็นถึง ลักษณะที่ เหมือน หรือแตกต่างกันของพฤติกรรมทางจิตวิทยา เช่น ความนึกคิด ความรู้สึก และการกระทำในช่วงเวลาหนึ่ง และบุคลิกภาพ เป็นแบบแผนที่เป็นเอกลักษณ์ (Unique) ที่ประกอบกันขึ้นของบุคคล เป็น เอกลักษณ์ประจำตัวของมนุษย์ทุกคน และไม่มีใคร เหมือนใครได้เลย เป็นความแตกต่างระหว่างบุคคลจากคำจำกัดความของนักจิตวิทยา ที่ให้ ความหมายเกี่ยวกับบุคลิกภาพนั้น พอที่จะสรุป กล่าวได้ว่า บุคลิกภาพ เป็นลักษณะเฉพาะหรือเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล ดังนั้น พฤติกรรมที่ ปรากฏในแต่ละบุคคลย่อมไม่เหมือนกัน ศิลปะอาจนับได้ว่า เป็นเครื่องมือ หรือสื่อ ที่ใช้ถ่ายทอดและ บันทึกพฤติกรรมของศิลปิน ดังนั้น ผลงานศิลปะ ก็คือ เครื่องบันทึก พฤติกรรมอันเป็นบุคลิกภาพ เฉพาะของศิลปินนั่นเอง


     เทคนิคและการใช้อุปกรณ์ต่างๆทางด้านศิลปะ
ศิลปะ หรือ ศิลป์ (สันสกฤต: शिल्प ศิลฺป) ทั่วๆไปแล้วจะหมายถึงการกระทำหรือขั้นตอนของการสร้างชิ้นงานศิลปะโดยมนุษย์ คำแปลในภาษาอังกฤษที่ตรงที่สุดคือ Art ศิลปะเป็นคำที่มีความหมายกว้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความหมายเกี่ยวกับการสร้างสรรค์, สุนทรียภาพ, หรือการสร้างอารมณ์ต่างๆ
งานศิลปะ จะรวมถึงชิ้นงานหลายๆชนิดโดยผู้สร้างตั้งใจสร้างชิ้นงานเพื่อสื่อสาร,สื่ออารมณ์,หรือใช้สัญลักษณ์เพื่อให้ผู้ชมชิ้นงานตีความ ผู้สร้างงานศิลปะ มักเรียกรวมๆ ว่า ศิลปิน
ศิลปะอาจรวมไปถึงงานในรูปแบบต่างๆเช่น งานเขียน บทกวี การเต้นรำ การแสดง ดนตรี งานปฏิมากรรม ภาพวาด-ภาพเขียน การจักสาน หรือ อื่นๆ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วศิลปะจะหมายถึงงานทางทัศนศิลปะพวก ภาพวาด-ภาพเขียน งานประติมากรรม งานแกะสลัก รวมถึง conceptual art และ installation art
การที่จะมีผลงานทางด้านศิลปะออกมาซักชิ้น ศิลปินหรือว่านักออกแบบจะต้องมีองค์ประกอบความรู้ทางด้านศิลปะด้วย เพื่อที่จะสามารถนำความรู้และเทคนิคทางด้านศิลปะมาใส่ในขั้นตอนของการออกแบบและสร้างสรรค์ เพื่อให้ผลงานศิลปะที่สร้างออกมานั้นมีความสวยงามและเมื่อผู้ที่มาชมผลงานศิลปะที่เราออกแบบไว้ก็จะได้หลงไหลและอยากจะรู้ข้อมูลของงานศิลปะชิ้นนี้เพิ่ม  ซึ่งในสมัยก่อนจิตรกรนักวาดภาพในสมัยนั้นก็ได้มีการนำเทคนิคต่างที่คิดขึ้นเองและที่นำมาจากตำราบ้างมาใส่ลงในผลงาน วันนี้เรามีอีกเทคนิคหนึ่งของการออกแบบงานศิลปะที่มีนักออกแบบศิลปะหลายคนเคยนำเทคนิคแบบนี้ไปใช้นั่นเองครับ สำหรับองค์ประกอบหรือว่าเทคนิคทางด้านการออกแบบผลงานศิลปะที่นำมาฝากชาวศิลป์ให้ได้รู้ในวันนี้คือ เทคนิคค่าต่างแสง ซึ่งคำว่า ค่าต่างแสง เป็นศัพท์ที่ใช้ในการบรรยายงานศิลปะที่ใช้ความตัดกันของความมืดกับความสว่าง ซึ่งเป็นคำที่มักจะใช้สำหรับภาพเขียนที่ใช้การตัดกันอย่างรุนแรง โดยส่วนใหญ่แล้วการนำเทคนิคชนิดนี้ไปใช้ในงานศิลปะที่เราเห็นได้บ่อยก็คือภาพวาดต่างๆ ซึ่งเทคนิคนี้มีการนำมาใช้นานมากแล้ว ซึ่งผลงานศิลปะภาพวาดที่เราจะเห็นได้ในจิตรกรในสมัยก่อนที่นำเทคนิคชนิดนี้ไปใช้ในการวาดภาพก็คือ ฌอร์ฌ เดอ ลา ตูร์ จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน โดยการเน้นการใช้ ค่าต่างแสง หรือการใช้ความตัดกันอย่างชัดเจนของแสงและเงา ซึ่งผลงานของจิตรกรคนนี้ที่โดนเด่นและมีการถ่ายทอดภาพวาดออกมาได้ดี คือ ภาพ โดย นักบุญแมรี แม็กดาเลน นั่นเองครับ ในปัจจุบันการนำเทคนิคค่าต่างแสงก็ยังมีการนำมาใช้กันอยู่มาก เพราะทำให้ภาพที่ได้ออกมาเป็นเหมือนภาพสามมิติ ถ้าเรานึกภาพไม่ออกก็คล้ายๆกับ ลักษณะของภาพก็คล้ายกับการใช้สป็อตไลท์บนเวทีนั่นเองครับ

เทคนิคการแรเงาน้ำหนัก
การแรเงาน้ำหนัก เป็นการวาดเขียนภาพเหมือนจริง ควรเริ่มฝึกการแรเงาภาพ  เพื่อฝึกการเขียนภาพแสดงออกถึงทักษะ ความละเอียดลออในการวาดภาพ การแรเงาสามารถทำให้ภาพดูมีความลึกมีระยะใกล้ไกลและดูมีปริมาตร เปลี่ยนค่าของรูปร่างที่มีเพียง 2 มิติให้เป็น 3 มิติ ทำให้รูปร่างที่มีเพียงความกว้าง-ยาวเปลี่ยนค่าเป็นรูปทรงมีความตื้นลึกหนาบางเกิดขึ้น

การเขียนภาพแสงเงา ผู้เขียนจำต้องเข้าใจการจัดน้ำหนักอ่อนแก่ให้ได้ใกล้เคียงกับน้ำหนักของแสงที่ตกกระทบผิววัตถุ เพราะความแตกต่างของน้ำหนักทำให้เกิดความรู้สึกที่ต่างกันไปได้ เช่น น้ำหนักสีที่อ่อนให้ความรู้สึกเบา น้ำหนักสีที่แก่ทำให้ดูแล้วรู้สึกหนัก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดระยะใกล้-ไกล ในการมองเห็น ตลอดจนความรู้สึกด้านความงามในทางศิลปะ
ในบทความนี้นำเสนอวิธีการแรเงา เป็นพื้นฐานการศึกษาเบื้องต้น ดังนี้
เทคนิคการแรเงา
1.  หรี่ตาดูวัตถุที่เป็นหุ่น กำหนดพื้นที่แบ่งส่วนระหว่างแสงเงาออกจากกันให้ชัดเจนด้วยเส้นร่างเบาๆบนรูปทรงของภาพร่างที่วาดไว้นั้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคร่าวๆ คือ แสงกับเงาเท่านั้น
                2.  แรเงาน้ำหนักในส่วนพื้นที่ที่เป็นเงาทั้งหมด ด้วยน้ำหนักเบาที่สุดของเงาที่ตกทอดบนวัตถุ และเว้นพื้นที่ส่วนที่เป็นแสงไว้
                3.  พิจารณาเปรียบเทียบน้ำหนักที่เบาที่สุดกับน้ำหนักที่เข้มในส่วนขึ้นอีกเท่าใด แล้วแบ่งน้ำหนักเงาที่อ่อนกับเงาที่เข้มขึ้นด้วยวิธีร่างเส้นแบ่งพื้นที่เบาๆ เช่นกันกับข้อ 1 จากนั้นก็แรเงาเพิ่มน้ำหนักในส่วนที่เข้มขึ้น ตลอดเวลาจะต้องเปรียบเทียบน้ำหนักของเงาที่ลงใหม่กับเงาอ่อนและแสงที่เว้นไว้อยู่เสมอเพื่อให้การแรเงาน้ำหนักได้ใกล้เคียงความเป็นจริง การแรเงาน้ำหนักต้องลงรวมๆ ไปทีละน้ำหนัก จะทำให้คุมน้ำหนักได้ง่าย
                4.  การแรเงาน้ำหนักที่เข้มขึ้นจะใช้วิธีการเดียวกับข้อ 1 และข้อ 3 จนครบกระบวนการ จะทำให้ได้ภาพที่มีน้ำหนักแสงเงาใกล้เคียงกับความเป็นจริงจากนั้นเกลี่ยน้ำหนักที่แบ่งไว้ในเบื้องต้นให้ประสานกลมกลืนกัน
                5.  พิจารณาในส่วนของแสงที่เว้นไว้ จะเห็นว่ามีน้ำหนักอ่อนแก่เช่นเดียวกับในส่วนของเงาต้องใช้ดินสอลงน้ำหนักแผ่วๆ ในส่วนของแสงที่เว้นไว้ เพื่อให้รายละเอียดของแสงเงามีน้ำหนักที่สมบูรณ์
                6.  เงาตกทอด ใช้หลักการเดียวกับการแรเงาน้ำหนักบนวัตถุที่กล่าวมาแล้ว แต่ต้องสังเกตทิศทางของแสง ประกอบการเขียนแสงในการวาดเขียนปกติจะใช้ประมาณ 45 องศากับพื้น แต่มีข้อสังเกต คือ ถ้าแสงมาจากมุมที่สูง จะเห็นเงาตกทอดสั้น ถ้าแสงมาจากมุมที่ต่ำลง เงาตกทอดจะยาวขึ้น ในส่วนน้ำหนักของเงาตกทอดเองก็จะมีน้ำหนักอ่อนแก่เช่นเดียวกับแสงเงาบนวัตถุ คือเงาที่อยู่ใกล้วัตถุจะมีความเข้มกว่าเงาที่ทอดห่างตัววัตถุสาเหตุมาจากแสงสะท้อนรอบๆ ตัววัตถุที่สะท้อนเข้ามาลบเงาให้จางลง
การแรเงาให้เกิดมิติใกล้-ไกล
      ความอ่อน- แก่ของน้ำหนัก นอกจากจะใช้เพื่อสร้างมิติให้เกิดความรู้สึก สูง ต่ำ หนา บาง แก่ วัตถุในภาพแล้ว น้ำหนักยังใช้สร้างมิติให้เกิดความรู้สึกใกล้-ไกลของวัตถุในภาพอีกด้วย
      
ค่าน้ำหนักถ้าใช้ในการสร้างความรู้สึกด้านมิติแก่วัตถุ ค่าน้ำหนักแก่จะให้ความรู้สึกต่ำหรือลึกลงไป ค่าน้ำหนักที่อ่อนจะให้ความรู้สึกที่สูงหรือนูนขึ้นมา
      
การสร้างความรู้สึกด้านระยะใกล้-ไกล ระยะใกล้จะใช้ค่าน้ำหนักแสงเงาที่ชัดเจนกว่าระยะไกล ระยะกลางก็ใช้ค่าน้ำหนักที่อ่อนลง และระยะไกลก็จะแรเงาให้อ่อนที่สุด หรือเน้นรายละเอียด หรือเส้นให้น้อยกว่าระยะกลางและใกล้

สีโปสเตอร์(Poster Color) เป็นสีน้ำชนิดหนึ่งเนื่องจากมีน้ำเป็นส่วนผสม นิยมบรรจุขวด มีเนื้อสีข้นค่อนข้างหยาบ และมีคุณสมบัติทึบแสง เพราะเติมแป้งหรือเนื้อสีขาวลงไป เรียกว่า "สีแป้ง"

           การเขียนภาพด้วยสีโปสเตอร์เป็นงานจิตกรรมที่เป็นกระบวนการสืบเนื่องจากการวาดภาพแรเงา เช่นเดียวกับการเขียนด้วยสีน้ำ คือเปลี่ยนจากการใช้ดินสอระบายน้ำหนักลงบนรูปร่าง รูปทรงที่วาด มาเป็นการใช้สีโปสเตอร์แทน
สีโปสเตอร์เป็นสีที่มีลักษณะขุ่นทึบ เนื้อสีมีลักษณะคล้ายแป้ง ซึ่งแตกต่างจากลักษณะของสีน้ำที่โปร่งใสไม่มีเนื้อสี สีโปสเตอร์เหมือนกันกับสีน้ำตรงที่เมื่อจะใช้ในการระบายภาพวาดจะต้องผสมน้ำก่อน
การเขียนสีโปสเตอร์ สามารถระบายด้วยพู่กันซ้ำๆที่เดิมได้ ซึ่งแตกต่างจากสีน้ำ ถ้าระบายถูไปมาด้วยพู่กันซ้ำหลายๆครั้งจะทำให้สีช้ำ
สกปรก กระดาษเป็นขุยดูไม่ใสสวย สำหรับสีโปสเตอร์ นอกจากการใช้พู่กันเกลี่ยสีซ้ำที่ได้แล้ว ยังนิยมผสมกับสีขาวเมื่อต้องการให้สี
อ่อนลงมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับปริมาณสีขาวที่ผสมลงไป และเมื่อต้องการให้ความจัดของสีหม่นลงหรือเมื่อต้องการให้สีนั้นมืดเข้มขึ้นก็ให้ผสมด้วยสีดำตามปริมาณมากน้อยตามที่ต้องการ
การเขียนภาพด้วยเทคนิคผสม
             การเขียนภาพด้วยเทคนิคผสม โดยวิธีการนำเทคนิคด้านต่าง ๆ มาผสมผสานกันในภาพเดียว นับเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของการคิดสร้างสรรค์ ดัดแปลง เพื่อให้เกิดผลงานที่แปลกใหม่ และหลากหลายในการนำเสนอ
               สีน้ำกับการวาดเส้น มีวิธีเขียนภาพได้  2 แบบ คือ
                   1) วาดเส้นก่อนระบายสีน้ำ วิธีนี้ให้ปฏิบัติการวาดเส้นด้วยหมึก จะใช้พู่กันหรือปากกาจุ่มหมึก หรือจะใช้ปากกาชนิดต่าง ๆ ก็ได้ โดยเลือกหมึกชนิดไม่ละลายน้ำ แล้วจึงระบายสีน้ำลงไปจะดูสวยงามแปลงตาไปอีกแบบหนึ่ง
                      2) ระบายสีน้ำก่อนวาดเส้น วิธีนี้เป็นการระบายสีน้ำลงบนภาพที่ร่างเบา ๆ ด้วยดินสอ เมื่อระบายสีเสร็จแล้วต้องรอให้แห้งแล้วจึงใช้หมึกดำวาดเส้นทับหรือที่เรียกกันว่า
"ตัดเส้น"
สีน้ำกับเทคนิคระบายวิธีอื่น
1.            การเป่าสี คือ การหยดสีลงบนพื้น แล้วใช้แรงลมจากปากเป่า จะเกิดการไหลของสีเป็นกิ่งก้านคล้ายลักษณะของต้นไม้ ซึ่งเป็นรูปแบบฟอร์มอิสระ
2.            การรีดสี คือ การให้สีผสมกันเองตามธรรมชาติ โดยการบีบสีใส่กระดาษงาน แล้วนำกระดาษอีกแผ่นหนึ่งมาปิดทับ แล้วใช้นิ้วมือกดรีดมีที่อยู่ในกระดาษ จะเกิดการผสมกันเองตามธรรมชาติดูสวยงามขึ้น
3.            สีไหล คือ การไหลของสีบนพื้นกระดาษที่เปียกชุ่มน้ำ กรรมวิธีโดยนำน้ำทาที่ผิวกระดาษ แล้วนำสีแต้มหรือทาที่ผิวกระดาษชุ่มน้ำ แล้วตะแคงกระดาษ สีจะเกิดการไหลตามผิวน้ำ ดูสวยงามตามธรรมชาติอีกแบบหนึ่ง
       สีน้ำกับสีโปสเตอร์  โดยใช้สีน้ำระบายภาพผสมกับการระบายด้วยสีโปสเตอร์เทคนิคผสมแบบนี้ไม่มีอะไรซับซ้อน เพียงการเลือกลงสีของผู้ปฏิบัติว่าได้ออกแบบไว้ให้พื้นที่ส่วนใดเป็นสีโปสเตอร์และพื้นที่ส่วนใดเป็นสีน้ำเท่านั้น
           การระบายสีโปสเตอร์ขั้นพื้นฐาน มีวิธีการระบายให้สีผสมผสานกลมกลืนกัน 2 วิธี ดังนี้
1) การระบายจากสีแก่ไปหาสีอ่อน
 เป็นการระบายสีโดยคำนึงถึงเงาเข้มของภาพก่อนแล้วค่อยลดน้ำหนักให้อ่อนจางลงด้วยการผสมสีขาวหรือสีใกล้เคียงกันในวงจรสีที่มีน้ำหนักอ่อนลงตามลำดับ มาผสมเพิ่มเข้าไปทีละน้อย
2) การรระบายจากสีอ่อนไปหาสีแก่ เป็นการระบายสีโดยคำนึงถึงส่วนสว่างหรือส่วนที่ได้รับแสงก่อน แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักให้เข้มขึ้นทีละน้อยด้วยการผสมสีดำหรือสีตรงกันข้ามหรื่อสีใกล้เคียงกันในวงจรสีที่มีน้ำหนักเข้มขึ้นตามลำัดับในลักษณะของการไล่น้ำหนักสี เพื่อให้เกิดการประสานกลมกลืนกัน

พู่กัน (Brush)
พู่กันเป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนช่วยให้งานศิลปะ ได้แสดงออกมาอย่างเต็มที่ การเลือกพู่กันที่ดี ที่ถูกต้องเหมาะสมกับสีจะทำให้สามารถสนองตอบความรู้สึก อารมณ์ ของศิลปิน พู่กันแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะตัวซึ่งพู่กันที่ดี (Raphael และ Pyramid ) จะได้รับความพิถีพิถันในการเลือกขนเพื่อมาทำพู่กัน ให้เหมาะสมกับพู่กันแต่ละประเภท
http://www.hhkint.com/icons/blue_oval_dot.gif พู่กันสีน้ำ
พู่กันสีน้ำที่ดีควรมีลักษณะขนที่อ่อนนุ่ม สามารถอุ้มน้ำ อุ้มสี ได้มาก มีการคืนตัวที่ดี มีแรงสปริง และแรงดีดพอสมควร ทำจากขนสัตว์ ขนสัตว์ สำหรับสีน้ำ
http://www.hhkint.com/icons/blue_oval_dot.gif ขนนก Petit Gris เป็นขนที่ดีที่สุดในการทำนำมาทำพู่กัน มีคุณสมบัติที่ไม่ดูดซับสีมากเกินไป เนื้อขนที่ละเอียด อ่อนนุ่มและพลิ้วไหว โปร่งเบา ลักษณะขนสีน้ำตาล Kazan,สีน้ำเงิน,สีทอง ได้รับการเลือกมาทำพู่กันมากที่สุด
http://www.hhkint.com/icons/blue_oval_dot.gif ขน Red Sable มีลักษณะขนสีทองอมน้ำตาลแดง มีคุณสมบัติพิเศษในการอุ้มสีได้ดีเยี่ยม และมีการตอบสนองที่ไม่สามารถหาที่เปรียบได้ มีความสามารถในการคืนตัว และความยึดหยุ่น มีความหนาของขนทำให้มีคุณสมบัติในการดีดตัว ขน Kolinsky และ Red Sable เป็นขนที่มาจากแถบไซบีเรีย จึงมีคุณสมบัติในการขยายตัวซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ และ ในปัจจุบัน Raphael เป็นพู่กันเพียงยี่ห้อเดียวที่ใช้ขน Kolinsky มาผลิตพู่กัน
http://www.hhkint.com/icons/blue_oval_dot.gif  ขนกระรอก เป็นขนที่มีลักษณะขนไม่อ่อนนุ่มมากนัก แต่ก็สามารถอุ้มสี และอุ้มน้ำได้ดี
http://www.hhkint.com/icons/blue_oval_dot.gif  ขนกระต่าย เป็นขนที่มีลักษณะอ่อนนุ่มมาก สามารถอุ้มน้ำ และอุ้มสีได้มาก
http://www.hhkint.com/icons/blue_oval_dot.gif  ขน Pony เป็นขนที่มีลักษณะไม่อ่อนนุ่มมาก แต่สามารถอุ้มน้ำ และอุ้มสีได้มาก
http://www.hhkint.com/icons/blue_oval_dot.gif  ขน Synthetic สำหรับ สีน้ำ ขน Synthetic เป็นขนที่มีความอ่อนนุ่ม และมีความยึดหยุ่นดี ถึงแม้จะไม่สามารถดูดซับสี และน้ำได้ดีเท่ากับขนจากธรรมชาติ แต่ก็เลียนแบบในด้านรูปทรงได้ใกล้เคียงที่สุด มีข้อดี คือ ด้านความคงทน และอายุการใช้งานที่ยาวนานมากกว่าขนจากธรรมชาติ โดยเฉพาะขนสีทอง และ Raphael ก็เป็นยี่ห้อเดียวที่ผลิตพู่กันโดยใช้ขน Synthetic
พู่กันสีน้ำมัน
พู่กันสีน้ำมันทีดีควรมีลักษณะขนพู่กันที่แข็ง เพราะต้องสามารถรองรับ และทนต่อความหนา ความหนักของสีและมีเดียมต่างๆของสีน้ำมันได้ พร้อมทั้งต้องมีแรงสปริงตัว คืนกลับเข้าที่เดิมได้ดี ทำจากขนสัตว์ ขนหมู ( Hog Bristles ) มีลักษณะขนที่แข็งเป็นเส้น ปลายขนจะแยกเป็นแฉก สามารถรองรับน้ำหนักของสี และ มีเดียม และมีแรงสปริงคืนตัวได้ดี ขนสังเคราะห์ สำหรับงานสีน้ำ และสีอคริลิค
ขน Synthetic เป็นขนสังเคราะห์ที่มีปลายขนสีเข้ม และแหลม เป็นใยสังเคราะห์ที่ดีที่สุด มีความยึดหยุ่นสูง, มีความคงทน มีแรงสปริงตัวที่ดี และอ่อนพริ้ว
http://www.hhkint.com/icons/blue_oval_dot.gif  ขนไนลอน หรือขนสังเคราะห์ 3 ชนิด เป็นขนที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว คือสามารถอุ้มสีได้มาก และมีแรงสปริงตัวกลับคืนสูง “Pyramid เป็นพู่กันที่ผลิตโดยใช้ขนสังเคราะห์ 3 ประเภทในการผลิตพู่กัน 1 ด้าม
http://www.hhkint.com/icons/blue_oval_dot.gif  ขน Golden Taklon เป็นขนสังเคราะห์พิเศษ ขนมีสีทอง สามารถอุ้มสี และอุ้มน้ำได้มาก มีความยึดหยุ่นสูง ความแข็งแรงของขนทำให้สามารถรองรับน้ำหนักของสีได้ดี “Pyramid เป็นยี่ห้อเดียวที่ผลิตพู่กันจากขน Golden Taklon ในการผลิตพู่กัน

การดูแลรักษา ทำความสะอาดพู่กัน
การดูแลพู่กันอย่างดีก็จะทำให้พู่กันมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ควรทำความสะอาดทุกครั้งหลังจากระบายสีเสร็จ อย่าใส่พู่กันลงในภาชนะใส่น้ำในลักษณะเอาขนพู่กันแช่ลงไป เพราะจะทำให้ขนพู่กันเสียรูปทรง ล้างพู่กันให้สะอาดเมื่อเลิกใช้ในแต่ละวัน

วิธีทำความสะอาดพู่กันสีน้ำและสีอคริลิค
1. ล้างพู่กันด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำอุ่น
2. ล้างด้วยสบู่เหลวอีกครั้ง
3. ล้างสบู่ออกด้วยการล้างกับน้ำก๊อกเปิดไหลอ่อนๆ โดยขยี้เบาๆในฝ่ามือ
4. จัดขนพู่กันให้เรียบร้อย เช็ดด้ามให้แห้งแล้ววางไว้บนผ้านุ่มๆ
5. เก็บพู่กันโดยเอาด้ามพู่กันลง
วิธีทำความสะอาดพู่กันสีน้ำมัน
1. ใช้ผ้าเช็ดสีที่เหลือค้างที่ขนพู่กัน
2. ล้างพู่กันด้วยน้ำมัน Turpentine
3. ล้างด้วยน้ำอุ่นอีกครั้ง แล้วล้างด้วยสบู่เหลว จนหมดคราบสี
4. ล้างสบู่ออกด้วยการล้างกับน้ำก๊อกเปิดไหลอ่อนๆโดยขยี้เบาๆในฝ่ามือ
5. จัดขนพู่กันให้เรียบร้อย เช็ดด้ามให้แห้งแล้ววางไว้บนผ้านุ่มๆ
6. เก็บพู่กันโดยเอาด้ามพู่กันลง







 ประเภทของศิลปะ
                 มีผู้นิยามไว้มากมายหลายความหมายของศิลปะด้วยกัน  เช่น  การเลียนแบบธรรมชาติ  การแสดงออกเกี่ยวกับความศรัทธาความเชื่อถือของแต่ละสมัย  สื่อติดต่อระหว่างกันแบบหนึ่ง  ภาษาหนึ่ง  การแสดงออกทางบุคลิกภาพเด่น ๆ ของศิลปิน  การถ่ายทอดความรู้สึกหรือแสดงความรู้สึกเป็นรูปทรง  การแสดงออกทางความงาม  การแสดงออกทางความเชื่อม  ความชำนาญ  ในการเรียงประสบการณ์และถ่ายทอดตามจินตนาการให้เป็นวัตถุที่มีสุนทรียภาพ  การรับรู้ทางการเรียน
                สรุปแล้วศิลปะคือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาให้มีความสวยงามละเอียดอ่อน  จากการถ่ายทอดเอาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวนำมาประกอบจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์โดยการเลือกวัสดุและเทคนิคที่เหมาะสมจัดเป็นรูปทรงใหม่  ทำให้ผลงานนั้นมีความสวยงาม  เป็นที่น่าประทับใจแก่ผู้พบเห็นก่อให้เกิดความรู้สึกสะเทือนอารมณ์หรือความพึงพอใจ  เพลิดเพลิน  ซึ่งเป็นความละเอียดอ่อนดีงามที่เรียกว่าสุนทรียภาพ
                ศิลปะไม่ใช่ธรรมชาติ  ธรรมชาติ  หมายถึง  สิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยที่มนุษย์ไม่ได้มีส่วนปรุงแต่งให้ผิดไปจากเดิม  เช่น  ภูเขา  ต้นไม้  ลำธาร  ศิลปะจะต้องเกิดจากฝีมือมนุษย์กับความคิดของมนุษย์เท่านั้นและสัตว์ก็ไม่สามารถสร้างงานศิลปะได้เช่นกัน

คุณค่าของศิลปะ
                ในขณะที่มนุษย์เป็นตัวการสำคัญในการสร้างสรรค์งานศิลปะทำการถ่ายทอดสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ด้วยวัสดุที่ได้เลือกสรรมาแล้วนำมาประกอบเป็นรูปทรงใหม่  ประกอบกับความคิดสร้างสรรค์  (Creative  idea)  ซึ่งจะมีผลให้ผลงานศิลปะนั้น ๆ มีรูปแบบเทคนิคต่าง ๆ ที่แปลกใหม่สามารถสร้างความสนใจแตกต่างกันออกไป  เนื่องจากสิ่งแวดล้อมได้เป็นตัวกำหนด  ให้มนุษย์แบ่งแยกเป็นกลุ่มเป็นประเทศทำให้เกิดขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม  และโดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปกรรมที่แตกต่างกันออกไป  ดังนั้นงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นมา  โดยมนุษย์ในแต่ละสังคมนั้นก็จะมีแฝงคุณค่าอยู่เสมอ  คุณค่าของศิลปะสามารถแยกรายละเอียดได้ดังนี้
1.       ศิลปะเป็นสื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันทางวัฒนธรรม  ศิลปกรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
2.       ศิลปะเป็นสื่อสะท้อนสภาพทางสังคมและยกระดับค่านิยมของสังคมให้เจริญสูงขึ้น
3.     ศิลปะจะช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดอารมณ์สุนทรียภาพทำให้มีความเพลิดเพลินเกิดความรู้สึกที่ละเอียดอ่อนดีงามทำให้จิตใจและอารมณ์เจริญงอกงามในทางที่ดีอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

ประเภทของศิลปะ
                แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.       วิจิตรศิลป์  Fine  Art  แบ่งออกเป็นสาขา  ดังนี้
-         จิตรกรรม  Painting
-         ประติมากรรม  Sculpture
-         สถาปัตยกรรม  Architecture
-         วรรณกรรม  Literature
-         นาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์   Music  &  Drama
-         ภาพพิมพ์และสื่อประสม  Printing  &  Mix media
2.       ประยุกต์ศิลป์  Applied  Art  แบ่งออกเป็น  4  สาขา  ดังนี้
-         พาณิชยศิลป์  Commercial  Art
-         มัณฑนศิลป์  Decorative  Art
-         อุตสาหกรรมศิลป์  Industrial  Art
-         หัตถกรรม  Handicraft










โปรแกรมที่สามารถใช้ประโยชน์ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ

อาจจะกล่าวได้ว่าทุกวันนี้ โปรแกรม หรือ software ได้ก้าวเข้ามาในแวดวงศิลปะอย่างคับคั่ง และสร้างสรรค์ผลงานภาพวาดออกมาไม่แพ้ กับการวาดภาพจากของจริง ซึ่งโปรแกรมสามารถวาดออกมาให้เหมือนกันกับภาพวาด ที่วาดจริง วาดสด ๆ ได้ และเหมือนจริงมาก ไม่ว่าจะเป็นอุกรณ์เครื่องมือ คุณสมบัติต่าง ๆ ของโปรแกรม เลี่ยนแบบอุปกรณ์การวาดภาพได้อย่างสมบูรณ์อย่างยิ่ง แตกต่างก็เพียงความจริงที่ปรากฏจากธรรมชาติที่บังเกิดขึ้น ซึ่งมีโปรแกรมที่เรียก Photoshop ในหลายโปรแกรมที่ยกมา เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe ที่ใช้สำหรับตกแต่งภาพถ่ายและภาพกราฟฟิก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านสิ่งพิมพ์ นิตยสาร และงานด้านมัลติมีเดีย อีกทั้งยังสามารถ retouching ตกแต่งภาพและการสร้างภาพ ซึ่งกำลังเป็นที่มนิยมสูงมากในขณะนี้ เราสามารถใช้โปรแกรม Photoshop ในการตกแต่งภาพ การใส่ Effect ต่าง ๆให้กับภาพ และตัวหนังสือ การทำภาพขาวดำ การทำภาพถ่ายเป็นภาพเขียน การนำภาพมา
รวมกัน การ Retouch ตกแต่งภาพต่าง ๆ ได้
ภาพวาดตัวอย่าง  โดยใช้โปรแกรม Photoshop สร้างสรรค์ผลงานโดย
ครู วีระยุทธ โพธิ์ศรี  SMEDU  รุ่น 2 กลุ่ม 18
ตัวอย่างภาพที่  1   ขั้นตอนแรกก็คือสร้างพื้นที่ หรือขนาดของภาพขึ้นมาตามความกว้าง ความยาว ของผู้วาดหรือตามครูสั่ง
ตัวอย่างภาพที่  2  เมื่อเราสร้างกระดาษเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็เข้าไปเลือก เครื่องที่ชื่อว่า Brus Tool 2 ซึ่งเครื่องมือที่ใช้สำหรับวาดภาพ และสามารถปรับขนาดและรูปแบบของแปรงได้ตามต้องการ
ตัวอย่างภาพที่  3  ขั้นตอนต่อไปเราสามารถวาดท้องฟ้าก่อนก็ได้เพื่อที่จะไล่เชกสี น้ำหนักอ่อนแก่ ตามลำดับ พร้อมกับปรับขนาด ความฟุ่งของหัวแปรงได้ตามต้องการ
ตัวอย่างภาพที่  4  ขั้นตอนนี้เราอาจจะทำท้องฟ้าให้มีความเบรอและใส่สีของท้องฟ้าได้ตามต้องการพร้อมกับให้เกิดความ soft ของก้อนเมฆแต่ละก้อนให้กลมกลืนกัน
ตัวอย่างภาพที่  5  ขั้นตอนนี้เมื่อเราทำท้องฟ้าเสร็จแล้ว เราก็อาจจะวาดวัตถุที่อยู่ใกล้ ๆ ก่อนก็ได้เช่น ครูอาจจะวาดภูเขาก็ใช้สีที่เข้ม ๆ ลงพื้นแล้วค่อยตกแต่งและเก็บรายละเอียดที่หลังก็ได้ ตามขั้นตอนและเทคนิค
ตัวอย่างภาพที่  6  ขั้นตอนนี้เราสามารถที่จะสร้างภาพและไล่เชกสีของภูเขาแต่ละลูกจากสีเข้มไปหาอ่อน และลงพื้นของสีไว้ แล้วค่อยเก็บรายละเอียดทีหลังตามขั้นตอน



ตัวอย่างภาพที่  7  ขั้นตอนนี้เราสามารถปรับสีและเลือกใช้สีได้โดยเข้าไปที่ Set foreground color ตามต้องการ
ตัวอย่างภาพที่  8  ขั้นตอนนี้จะเห็นได้ว่าครูใช้สีเข้มมากในการทำพื้นหญ้าโดยลงพื้นไว้ก่อน
ตัวอย่างภาพที่  9  ขั้นตอนนี้เราสามารถเลือกปรับ หัวแปรงได้หลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่ว่าเราจะวาดอะไร
ตัวอย่างภาพที่  10   ขั้นตอนนี้เมื่อเราเลือกหัวแปรงแล้วเราก็วาดหรือระบายลงไปบนพื้นหญ้าที่เราลงสีพื้นทับไปได้เลย ภาพก็จะออกมาเริ่มมีมิติขึ้นมา
ตัวอย่างภาพที่  11  จากนั้นเราก็เลือกตกแต่งและเก็บรายละเอียดได้เลย
ตัวอย่างภาพที่  12 ขั้นตอนนี้เราสามารถเพิ่มสีสรร โดยเลือกสีที่เด่นเพื่อตกแต่งให้เกิดจุดเด่นจุดเล็ก ๆ หลาย ๆ จุด หรือจุดเดียว หรือเพิ่มเข้าไปได้ตามต้องการ
ตัวอย่างภาพที่  13  ขั้นตอนนี้เราสามารถเพิ่มรายละเอียดเข้าไปเช่น ดอกไม้ หรือ ต้นไม้ ซึ่งต้นไม้ เราควรลงพื้นก่อนแล้วค่อยเก็บรายละเอียดทีหลัง
ตัวอย่างภาพที่  14  ขั้นตอนนี้การใช้พู่กันให้มีขนาดเล็กลงตามลำดับในการสร้างกิ่งของต้นไม้
ตัวอย่างภาพที่  15  ขั้นตอนนี้เกือบสุดท้ายพอดีให้เราเก็บรายละเอียดพร้อมกับตกแต่งด้วยสิ่งมีชีวิตเข้าไปจะได้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมก่อให้เกิดปรัชญาในตัวของภาพขึ้น ทำให้ผู้ชมงานศิลปะตีภาพออกมาในหลากหลายรูปแบบ และทำให้ผู้ชมภาพมีส่วนรวมกับชิ้นงานที่เราสร้างขึ้น เหมือนทำด้วยกัน


                ขั้นตอนสุดท้ายนี้ ขาดไม่ได้คือการกำกับลายมือชื่อ ซึ่งถือว่าผลงานที่สร้างขึ้น บ่งชี้ว่าคือท่านใด   แนบท้ายสุดงานศิลปะไม่ว่าจะสร้างด้วยวิธีไหนก็ตามล้วนก่อให้เกิดปัญญา เกิดสมาธิ จิตใจเยือกเย็น  มีความสุนทรีย์ในชีวิต ผลงานที่สร้างยังจะคงอยู่เรื่อยไป แม้ชีวิตดับ ผลงานและความรู้ที่สร้างจะคงอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน ถ้าผู้รู้ ผู้เรียนมีความตั้งใจ ทำงานด้วยปัญญา ด้วยสติ ด้วยสมาธิ และด้วยความขยั้นอดทน ผลงานนั้นก็จะบังเกิดขึ้นแห่งองค์ความรู้ที่นิรันดร์ เฉกเช่น ภาพวาดของ ศิลปินเอกของโลกได้สร้างขึ้น และประเมินมูลค่ามิได้

      โปรแกรมสำหรับงานกราฟิกเป็นส่วนที่สำคัญยิ่งในการใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ผลิตผลงานกราฟิก  ในปัจจุบันมีโปรแกรมสำหรับใช้ทำงานกราฟิกเป็นจำนวนมาก  สามารถจัดแบ่งโปรแกรมสำหรับงานกราฟิกออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ตามแผนภาพ  ดังนี้             
            กราฟิกวาดภาพ (drawing graphics)
                โปรแกรมประเภทนี้ใช้สร้างสรรค์งานศิลปะหรือผลิตผลงานคุณภาพสูง  ภาพที่ซับซ้อนทางวิศวกรรม  ทางสถาปัตยกรรม และภาพกราฟิกอื่น ๆ แต่ละโปรแกรมจะมีลักษณะใช้เฉพาะงาน  ซึ่งแบ่งได้เป็น  2  กลุ่ม  คือ  โปรแกรมสร้างและตกแต่งภาพ  และโปรแกรมช่วยออกแบบ
          โปรแกรมสร้างและตกแต่งภาพ   ส่วนใหญ่มีลักษณะการใช้งานที่มีเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกในการสร้างหรือวาดภาพหรือตกแต่งภาพที่คล้ายกัน  เช่น  การแบ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นส่วน ๆ  สำหรับเป็นพื้นที่วาดภาพซึ่งสามารถเลื่อนดูภาพในส่วนที่ไม่ได้ปรากฏบนจอ  รายการเลือก  กล่องเครื่องมือที่ประกอบด้วยสัญรูปเครื่องมือสำหรับใช้วาดรูป  เช่น  รูปทรงพื้นฐานสำหรับวาดรูปสี่เหลี่ยม  รูปวงกลม  ดินสอให้วาดรูปโดยอิสระ  แว่นขยายสำหรับใช้ย่อหรือขยายรูปออกมาตกแต่ง   ตัวอักษรสำหรับพิมพ์ข้อความลงในภาพซึ่งสามารถกำหนดรูปแบบอักษรหรือเทคนิคพิเศษต่าง ๆ  ผลลัพธ์ของโปรแกรมประเภทนี้จะเป็นแฟ้มภาพที่นำไปใช้งาน  ตัวอย่างเช่น  เพนต์บรัช  (Paint brush)  โฟโตชอพ (Photoshop)  คอเรลดรอว์ (Corel Draw)  เพนต์ (Paint)  เป็นต้น           
          โปรแกรมช่วยออกแบบ   จะใช้ในงานกราฟิกทางด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม  เช่น  แบบแปลนตึก  แบบอุปกรณ์  แบบรถยนต์  แบบเครื่องบิน  สามารถใช้เขียนภาพ  โดยมีมาตราส่วนจริงได้  โปรแกรมช่วยออกแบบทั่วไปยังแบ่งได้เป็นแบบ  2  มิติ  ตัวอย่างเช่น  ออโตแคด (Auto CAD) และ แบบ  3  มิติ  เช่น   3DMAX ซึ่งมักจะใช้ในงานสถาปัตยกรรม หรืองานโฆษณา
              เทคนิคอย่างหนึ่งในโปรแกรมช่วยออกแบบ คือ  การสร้างภาพเคลื่อนไหว (animation)  ซึ่งเป็นภาพที่เกิดจากการพลิกดูภาพเดี่ยวหลาย ๆ ภาพที่เรียงซ้อนกันอย่างต่อเนื่อง  ทำให้มองเห็นรูปในภาพเคลื่อนไหว  โปรแกรมกราฟิกวาดภาพเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการสร้างภาพเคลื่อนไหวบนฟิล์มภาพยนตร์ หรือภาพการ์ตูน  ในด้านธุรกิจการสร้างภาพเคลื่อนไหวจะมีค่าใช้จ่ายสูง  ซับซ้อน และยุ่งยาก  ในระยะแรก ๆ ของการผลิตภาพเคลื่อนไหว  ภาพเคลื่อนไหว 1 วินาที  จะต้องใช้ภาพวาดจำนวน  36 ภาพ   ปัจจุบันโทรทัศน์ในอเมริกาใช้ระบบเอ็นทีเอสซี (NTSC)  ใช้  30 ภาพ  ต่อวินาที  ออกอากาศโดยมีคอมพิวเตอร์ช่วยในการวาดภาพและกำหนดการเคลื่อนไหว  สำหรับประเทศไทยสัญญาณโทรทัศน์เป็นระบบพาว (PAL)  จึงใช้ 25 ภาพต่อวินาที  สำหรับภาพเคลื่อนไหวในคอมพิวเตอร์จะใช้ภาพไม่น้อยกว่า  19 ภาพต่อวินาที  ขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดเก็บภาพเคลื่อนไหว
              คอมพิวเตอร์สำหรับสร้างภาพเคลื่อนไหวจะมีโปรแกรมกราฟิกที่มีประสิทธิภาพสูง  ช่วยให้ผู้สร้างภาพเคลื่อนไหวสามารถกำหนดหรือสร้างลักษณะการเคลื่อนไหวของตัวอักษรและตัวแสดงได้อย่างรวดเร็วและสะดวก  โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะอาศัยหลักการเดียวกับการสร้างภาพเคลื่อนไหวบนฟิล์มภาพยนตร์  เพียงแต่จะเก็บภาพที่วาดในรูปข้อมูลดิจิทัลไว้ในสื่อพิเศษ  แล้วนำมาแสดงต่อเนื่องกันเป็นภาพเคลื่อนไหว
           งานด้านศิลปะ
            การสร้างงานด้านศิลปะนับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษยชาติ  ศิลปินสามารถใช้สื่อต่าง ๆ ในการถ่ายทอดจินตนาการ  อารมณ์  ความรู้สึกสู่ผู้ชมงานศิลปะนั้น  คอมพิวเตอร์นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการสร้างภาพกราฟิกเพื่อสื่อความหมาย  เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในการนำเสนอได้มาก
            การสร้างงานศิลปะอาจทำได้ตั้งแต่การวาดภาพโดยใช้โปรแกรมวาดภาพ  ที่มีเครื่องมือให้สามารถใช้เมาส์แทนการใช้พู่กันและสี  ในบางโปรแกรมสามารถปรับความหนักเบาของเส้นมาช่วยทำให้การวาดภาพเป็นธรรมชาติขึ้น  บางโปรแกรมสามารถปรับแต่งภาพถ่าย  มาเป็นภาพวาดสีน้ำ  สีน้ำมัน  หรือแบบอื่น ๆ ได้  และยังรวมความสามารถในการเลือกพื้นผิวสำหรับวาดภาพด้วยเช่นตัวอย่างในรูปที่ 1.13
            ในงานศิลปะการละคร  ฟิล์มภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์สามารถบันทึกภาพการแสดงได้  แต่ไม่สามารถเก็บรายละเอียดท่าทางของตัวละครแต่ละตัว  การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกจะทำให้ผู้กำกับการแสดงสามารถวิเคราะห์ออกแบบท่าทางของนักแสดง  กำกับบทบาทของตัวละครแต่ละคนบันทึกเป็นข้อมูล  กำหนดฉาก  แสง  แล้วแสดงเป็นภาพการแสดงรวม  ซึ่งสามารถตรวจสอบแก้ไขรายละเอียดทุกส่วน  และนำไปสู่บทบาทการแสดงจริงบนเวที  คอมพิวเตอร์กราฟิกสำหรับงานศิลปะการละครจะมีลักษณะการใช้งานคล้ายกับคอมพิวเตอร์กราฟิกช่วยในการออกแบบ

  




บทที่ ๓
อุปกรณ์และวิธีการศึกษา
อุปกรณ์และวัสดุในการศึกษา
      ๑.  อุปกรณ์และวัสดุในการศึกษา
            - อินเทอร์เน็ตสำหรับค้นหาข้อมูล
            - โปรแกรมต่างๆที่ใช้ในการทำโครงงาน
            - คอมพิวเตอร์
วิธีการศึกษา
๑.   กำหนดความสนใจและหัวข้อเรื่อง
๒.  หาข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานด้านศิลปะ
๓.  จัดเรียงข้อมูล
๕.  ทำรูปเล่มโครงงาน
๖. ทำลงโปรแกรม powerpoint เพื่อการนำเสนอที่น่าสนใจขึ้น
๗.ทำลงเว็บไซต์
๘.นำเสนอโครงงาน




บทที่ ๔       
ผลการศึกษาและอภิปรายผลการศึกษา
                การจัดทำโครงงานส่งเสริมความรู้ทางด้านศิลปะ เรื่อง การส่งเสริมความรู้และเทคนิคต่างๆทางด้านศิลปะนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาทำความเข้าใจกับศิลปะอย่างแท้จริง ไม่ใช่เข้าใจแค่ว่าศิลปะคือการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆให้สวยงาม หรือคือการวาดรูปเท่านั้น แต่สามารถเข้าใจถึงคำว่าศิลปะ และให้คำนิยามกับมันได้ ซึ่งมีผลการดำเนินงานดังนี้
ผลการศึกษา
            ในการทำโครงงานเรื่องนี้กลุ่มของข้าพเจ้าได้จัดหาข้อมูลต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ทางด้านศิลปะมากมาย มีทั้งความหมาย การใช้อุปกรณ์ และเทคนิคต่างๆ รวมไปถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นประโยชน์ในการสร้างสรรค์งานศิลปะขึ้น กลุ่มของข้าพเจ้าได้รวบรวมข้อมูลจากหลายๆแหล่งเพื่อความหลากหลาย และได้สอดแทรกความเข้าใจในคำว่าศิลปะของพวกข้าพเจ้าไปด้วย ซึ่งในการจัดทำโครงงานนี้ เราได้ทำลง powerpoint เพื่อการนำเสนอที่น่าสนใจ และได้จัดทำลงเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ได้ เพื่อเข้าใจในคำว่าศิลปะ

เว็บไซต์









บทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงานแลข้อเสนอแนะ

               การจัดทำโครงงานศิลปะเรื่อง การส่งเสริมความรู้และเทคนิคต่างๆทางด้านศิลปะ
สามารถสรุปผลการดำเนินโครงงานและข้อเสนอแนะได้ดังนี้
การดำเนินงานจัดทำโครงงาน

วัตถุประสงค์ของโครงงาน

1.เพื่อให้ผู้อื่นได้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคศิลปะไปใช้ต่อในการทำงานต่างๆได้
2.เพื่อให้ผู้อื่นเลือกใช้เทคนิคต่างๆได้อย่างดีขึ้น
วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา
               เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
               เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารเช่น www.facebook.com www.hotmail.com www.google.com
            โปรแกรมที่ใช้ในการนำเสนอผลงาน เช่นMicrosoft Office Power point

สรุปผลการดำเนินโครงงาน

      โครงงานศิลปะเรื่อง การส่งเสริมความรู้และเทคนิคต่างๆทางด้านศิลปะผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนที่เสนอในบทที่3แล้วได้สมัครสมาชิกเว็บบล็อกที่ชื่อ http://blogspot.com/ จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงได้ทุกเวลาโดยได้นำเผยแพร่ที่เว็บบล็อกชื่อhttp://chaiwatbaka.blogspot.com/ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับสื่อสังคมในรูปแบบSocial   Media ประเภทเว็บไซต์ facebook ทั้งนี้เว็บบล็อกดังกล่าวสามารถจัดการและเชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่นได้เป้นอย่างดี โดยทั้งครูที่ปรึกษาเพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการการเรียนรู้โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนอที่หลากหลาย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรุ้ในโลกออนไลน์อย่างรวดเร็ว



ข้อเสนอแนะ
    -ควรมีการทำให้ครบทุกกลุ่มสารการเรียนรู้หรืออาจเพิ่มเติมพัฒนาในเรื่องของเนื้อหาให้ดูดีขึ้นครับ
-ควรมีแบบทดสอบก่อนอ่านและหลังอ่านครับ

ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนา
-เวลาของสมาชิกในกลุ่มไม่ตรงกันจึงทำให้งานล่าช้าไป
-เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอในการทำโครงงาน และเพื่อนบางคนไม่มีคอมพิวเตอร์อยู่ที่บ้านจึงเสียเวลาไปในการขับรถมาที่ร้านและทำให้งานล่าช้าไปด้วย

















บรรณานุกรม

http://www.hosting.cmru.ac.th/ruth/lesson/unit3.htm











ลิงค์ดาวน์โหลด

รูปเล่ม : http://www.mediafire.com/?6h96eovdqemtx75
Power Point : http://www.mediafire.com/?fd1w27bpemdt19n